แมลงหวี่ขาวยาสูบ (TOBACCO WHITEFLY)

แมลงหวี่ขาวยาสูบ (Tobacco Whitefly)
ชื่ออื่น : cotton whitefly sweetpotato whitefly
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bemisia tabaci (Gennadius)
ชื่อเดิม : Aleurodes tabaci Gennadius

ประเภทแมลงหวี่ขาว
แมลงหวี่ขาวยาสูบ วางไข่เป็นกลุ่มใต้ใบพืช ก้าน ไข่จะติดกับเนื้อเยื้อของพืช รูปร่างยาวมีสีเหลืองอ่อน ไข่มีขนาด 0.1-0.3 มม. ตัวอ่อนมีลักษณะแบนราบติดกับผิวใบ ลอกคราบ 3 ครั้ง ระยะตัวอ่อน 11-18 วัน ดักแด้มีขนาด 0.6-0.8 มม. ระยะดักแด้ 5-7 วัน ตัวเต็มวัยจะออกจากดักแด้ตรงรอยแตกที่ส่วนอก เพศเมียวางไข่ได้สูงสุดมากกว่าร้อยฟอง ตัวเต็มวัยมีอายุ 2-11 วัน สืบพันธุ์แบบ Parthenogenesis ( การออกลูกเป็นตัวโดยไม่มีการผสมพันธุ์)
แมลงหวี่ขาวใยเกลียว ตัวเต็มวัย (มีความยาว 2 มม.) วางไข่เป็นวงกลมบนพื้นผัวของพืช ระยะไข่ใช้เวลา 7 วัน ระยะตัวอ่อนมี 4 ระยะใช้เวลา 30 วัน ตัวอ่อนระยะที่ 1 จะแขวนอยู่บนใบพืช ตัวอ่อนระยะอื่นจะไม่เคลื่อนไหว

ลักษณะการเข้าทำลายและความเสียหายที่เกิดกับพืช
แมลงหวี่ขาวสามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนของพืช การทำลายของตัวอ่อนทำให้เกิดเป็นจุดสีเหลืองบนใบพืช ใบพืชหงิกงอขอบใบม้วนลงด้านล่าง ต้นแคระแกร็นและเหี่ยว หากพบทำลายในปริมาณมากอาจทำให้พืชตายได้นอกจากนี้ยังเป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัสสาเหตุโรคใบต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตลดลง
สำหรับประเทศไทยมีรายงานการสำรวจพบแมลงหวี่ขาวที่เป็นศัตรูพืชสำคัญและสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 50 ชนิด โดยแมลงหวี่ขาวที่เป็นศัตรูพืชสำคัญคือ แมลงหวี่ขาวยาสูบและแมลงหวี่ขาวโรงเรือน มักพบระบาดและสร้างความเสียหายให้กับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น พริก มะเขือ กระเจี๊ยบเขียว มันเทศ พืชตระกูลกะหล่ำ ถั่งต่างๆ ยาสูบ มันสำปะหลัง มันฝรั่ง และฝ้ายเป็นต้น

การป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาว
1. การจัดการแปลงปลูกพืช :
หากพบแมลงหวี่ขาวใต้ใบพืชจำนวนมาก ให้ตัด-เก็บส่วนของพืชเผาทำลาย เพื่อป้องกันการระบาดหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้ซากพืชออกนอกแปลงปลูกและทำความสะอาดแปลงปลูกและพื้นที่รอบๆ
2. การใช้วิธีกลล่อและดักแมลง : การใช้กับดักกาวเหนียว (Sticky trap) โดยอาศัยพฤติกรรมของแมลง ซึ่งชอบบินเข้าหาวัตถุสีเหลือง การติดกับดักกาวเหนียวนอกจากสามารถลดจำนวนแมลงได้ระดับหนึ่งแล้ว ยังสามารถใช้ในการตัดสินใจในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงต่อไป
3. การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาว : หากพบแมลงหวี่ขาวอยู่ในระดับเศรษฐกิจหรือจำนวนมาก หรือเกิดการระบาดควรพ่นสารกลุ่มออกฤทธิ์ที่แนะนำให้ใช้สำหรับป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวโดยเฉพาะ เช่นตัวยา ไบเฟรนทริน , อีโทเฟนพรอกซ์, อิมิดาคลอพริด (imidacloprid), อะเซทามิพริด (acetamiprid)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *