มารู้จักโรคใบจุดจากเชื้อรากันเถอะ

โรคใบจุดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราที่พบการระบาดเป็นจำนวนมากอีกโรคหนึ่ง โรคใบจุดและต้นแห้งที่เกิดจากเชื้อ (Alternaria leaf spot) Alternaria sp. จัดเป็นเชื้อราที่ระบาดแพร่หลายมากที่สุดชนิดชนึ่ง ก่อให้เกิดโรคกับพืชต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะผักต่างๆ สำหรับผักกาดสามารถเข้าทำลายก่อให้เกิดโรคได้เกือบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กระหล่ำปม กะหล่ำดาว บร็อคโคลี ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง ผักกาดหัว รวมไปถึงพวกแรดิช เทอร์นิบและรูทาบาก้า เชื้อนี้สามารถมาได้หลายทาง ยิ่งหากแปลงปลูกเป็นฟาร์ม ระบบปิดแล้ว เนื่องจากเชื้อสามารถขยายพันธุ์และสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเชื้อสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ ประกอบกับพืชผักที่ปลูกระบบดิน ดินที่ปลูกจะวนเวียนปลูกซ้ำๆ ความต้านทานต่อโรคจะน้อยลง

พบมากในใบแก่ เริ่มแรกจะเป็นจุดสีม่วงอมน้ำตาลที่ใบ กลางแผลเนื้อเยื่อแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมักจะมีเชื้อราเป็นสีดำขึ้นบางๆ ของแผลมีสีม่วงเห็นได้ชัดเจน ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม ขนาดของแผลจะขยายกว้างขึ้นและแผลอาจจะรวมกันเป็นแผลใหญ่ทำให้เกิดอาการใบแห้ง เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุด สามารถอาศัยอยู่ในซากพืชและในดินได้ดีหรือติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ สปอร์จะแพร่ระบาดได้ดีไปกับลม น้ำฝนและดินน้ำที่ใช้ในระบบพ่นฝอย ช่วยให้โรคระบาดได้เร็วขึ้น นอกจากนี้วัชพืชที่อยู่รอบๆแปลงปลูก จะเป็นแหล่งหลบอาศัยของเชื้อใบจุดได้

ข้อควรรู้

  • การใช้สารเคมีป้องกันโรค ตัวเดิมนานๆ จะทำให้เกิดการดื้อยา ต้องสลับการใช้ยาเคมีป้องกันโรค เนื่องจากมีความสม่ำเสมอทางพันธุกรรม เป็นเหตุให้เชื้อมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของเชื้อเอง
  • จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในระบบมีน้อยกว่า ทำให้ขาดสิ่งที่ปกป้องตามธรรมชาติ
  • แปลงปลูกเก่าพบปัญหาเชื้อโรคใบจุดได้ในดิน ช่วงปีแรกๆ ของการปลูกหากมีการดูที่ดีไม่พอ หรือใช้สารเคมีป้องกันโรคผิด

การป้องกันและกำจัด

  • ดูแลกำจัดต้นวัชพืชบริเวณรอบๆ พื้นที่ปลูกให้หมดจนสะอาด
  • แปลงปลูก ควรเตรียมพื้นที่ปลูกให้ดี พื้นโรงเรือนควรโรยด้วยหินกรวด เพื่อป้องกันน้ำขังเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
  • พื้นที่มีลมแรง ควรใช้สแลมขึงหรือปลูกพืชกำบังลม เพื่อไม่ให้ส่วนขยายพันธุ์จากแปลงข้างเคียงปลิวเข้ามา
  • ใช้วัสดุเพาะกล้าที่ใหม่สะอาดหรือผ่านการฆ่าเชื้อแล้วในการเพาะกล้า
  • ปรับระยะเวลาในการสเปย์น้ำให้เหมาะสม อย่าให้ชื้นแฉะเกินไป
  • หากพบโรคให้เก็บส่วนของพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลายหรือฝังกลบโรยด้วยปูนขาว อย่าทิ้งเศษพืชที่เป็นโรคลงบนพืชบริเวณแปลงปลูก
  • แปลงที่พบการระบาดรุนแรง อาจจะตองพ่นยาป้องกันเชื้อราในระยะเพาะกล้า
  • หากมีการระบาดรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ อาจต้องพักแปลงปลูก ทำความสะอาดและพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ บริเวณพื้นที่ปลูกโดยรอบและอาจจะต้องใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราเพื่อควบคุมโรคและพักดินไว้สักระยะหรือลองปลูกพืชหมุนเวียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *